ชาสุขภาพชั้นดี : สู้ภูมิแพ้ด้วยสมุนไพรก้นครัว
โรคภูมิแพ้ เป็นโรคที่ฮิตติดอันดับ ของคนในสังคมทุกวันนี้ โดยเฉพาะคนในกรุงเทพฯ ที่ได้ผู้ว่าฯ คนใหม่กันแล้ว กล่าวกันว่า แปดในสิบคนที่เดินเข้าร้านขายยา มักจะต้องซื้อยาที่เกี่ยวข้องกับโรคภูมิแพ้ มีผู้คนมากมายที่ต้องทนทุกข์ทรมานจากโรคนี้ อย่างไม่รู้จบ ต้องอยู่ภายใต้การกินยา และหาหมออย่างยาวนาน เวียนเข้าเวียนออก ต้องทนทุกข์จากผลข้างเคียงของยาแก้แพ้ เช่น การง่วงนอน ปากคอแห้ง หรือการเต้นของหัวใจถูกรบกวน นอกจากนี้อาการข้างเคียงของยา ที่ทำให้จมูกโล่งก็สร้างความทุกข์ระทมไม่แพ้กัน คือ การที่มีอาการใจสั่น กระวนกระวาย มีอาการทางจิตประสาท นอนไม่หลับ ทางออกของโรคภูมิแพ้ ในมุมมองของการรักษาแผนปัจจุบัน ก็คือ การหลีกเลี่ยงสารที่แพ้กับการกินยา และหาหมอ
ก่อนอื่นเราคงมารู้จักเจ้าภูมิแพ้กันสักหน่อย ภูมิแพ้เกิดจากความไม่สมดุลของระบบภูมิคุ้มกัน ระบบภูมิคุ้มกันเป็นกลไกที่ซับซ้อนพอสมควร ถ้าจะลองอธิบายแบบง่ายๆ ก็คือ ถ้ามีสิ่งแปลกปลอม เช่น เชื้อโรคพวกแบคทีเรีย รา ไวรัส หรือเนื้อเยื่อ ที่ชอกช้ำจากการบาดเจ็บ
ระบบภูมิคุ้มกัน จะกระตุ้นให้เซลหลั่งสารเคมีบางชนิด เพื่อทำลายสิ่งแปลกปลอมนั้น มีการทำให้เซลเม็ดเลือดขาว ที่มีหน้าที่ต่อสู่กับเชื้อโรคพร้อมรบ กระตุ้นให้เลือดไหลเวียนมาบริเวณนี้ให้มากขึ้น อุณหภูมิบริเวณนี้จะมากขึ้น และมีอาการบวม ที่เราเรียกอาการนี้ว่า อาการอักเสบ (inflammation)
ทีนี้เมื่อใดที่สิ่งแปลกปลอมดังกล่าวหายไป แล้วแต่เจ้าระบบภูมิคุ้มกันยังทำงานอยู่ หรือเจ้าภูมิคุ้มกันเกิดขยันเกินเหตุ เห็นสารปกติธรรมดาที่มีอยู่รอบตัวเป็นสิ่งแปลกปลอม ทีนี้แหละยุ่ง เพราะการอักเสบก็ยังคงดำรงอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะในหู คอ จมูก และระบบทางเดินหายใจ ก็จะเหมือนอยู่ใต้เปลวไฟ คือ มีอาการบวม แดง ร้อน หายใจลำบาก ซึ่งจะลุกลามเป็นผลให้เกิดการหายใจลำบาก กลายเป็นโรคหอบหืดไปเลย
การยอมจำนนต่อโรคนี้ ด้วยการยอมอยู่ภายใต้อาณัติยา และหมอดู เหมือนมันจะเป็นคนขี้แพ้ไปเสียจริงๆ ลองมาดูกันว่ามีทางเลือกอะไรบ้าง
ก่อนอื่น ต้องรีบหาว่าสาเหตุของภูมิแพ้มาจากไหน เริ่มจากที่นอนหมอนมุ้งของเราก่อน ว่ามันเป็นที่สะสมของฝุ่น ตัวไรหรือไม่จับตากแดดจัดบ่อยๆ สักอาทิตย์และหนก็ดี
อาหารที่เรากินเข้าไป ก็เป็นปัจจัยหนึ่งของการแพ้ เพราะฉะนั้นสำรวจว่าเราแพ้อาหารอะไร คือเวลากินอะไรเข้าไปแล้วเป็นผื่นคัน มีอาการจับหอบก็หลีกเลี่ยง หรือในรายที่ไม่ได้แพ้อาหารเราก็ควรกินอาหารที่เสริมให้ระบบย่อยอาหารทำงานเป็นปกติ ก็จะช่วยให้อาการภูมิแพ้ดีขึ้น นั่นคือ ไม่ปล่อยให้มีของเสียสะสมในลำไส้ มีการขับถ่ายที่เป็นปกติ โดยการรับประทานอาหารที่มีเส้นใย เพื่อช่วยกวาดของเสียทิ้งออกไปกับการถ่ายอุจจาระ
นอกจากการกินอาหารที่มีกากแล้ว อาหารที่เป็นสมุนไพรหลายชนิด สามารถช่วยบรรเทาอาการภูมิแพ้ได้ อาทิ หอมหัวแดง หอมแดงเป็นสมุนไพรในครัวเรือน ที่คนสมัยก่อนใช้รักษาโรคหวัด โดยกินหอมหัวเล็กวันละ ?-1 หัว จะทำให้ร่างกายสดชื่นมีความต้านทานโรคหวัด แต่ต้องระวัง เพราะตำราจีนห้ามกินมากเกินไป คือ ตั้งแต่ 3 หัว (หัวขนาดเท่านิ้วมือ) ต่อวันเป็นประจำทุกวัน เพราะอาจทำให้เกิดอาการมึนงง หลงลืมง่าย รากผมไม่แข็งแรง
ปัจจุบันพบว่า สารในหอมหัวแดงมีสารไบโอฟลาโวนอยด์ ชื่อ quercitih ซึ่งมีสูตรโครงสร้างทางเคมี คล้าย cromolyn sodium ซึ่งเป็นยาที่นิยมใช้รักษาโรคภูมิแพ้ และอาการหอบหืด โดยตัวของสารในกลุ่มไบโอฟลาโวนอยด์นั้น มีฤทธิ์ต่อต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งอนุมูลอิสระเป็นเสมือนเชื้อเพลิง ที่ทำให้อาการอักเสบรุนแรงขึ้น การกำจัดอนุมูลอิสระ ด้วยการรับประทานผักที่มีสีแดง สีส้มก็จะช่วยรักษาอาการแพ้ได้
การรับประทานขมิ้นชันเป็นประจำ ก็จะช่วยให้โรคภูมิแพ้ดีขึ้น ขนาดที่รับประทานถ้าเป็นการป้องกัน ก็ใช้ผงขมิ้นชันประมาณ 500-1000 มิลลิกรัม (1-2 แคปซูล) วันละ 2-3 ครั้ง แต่ถ้ามีอาการ ควรรับประทานเพิ่มขึ้น เป็นประมาณ 2 กรัม (ประมาณ 4 แคปซูล) วันละ 3 ครั้ง
จากรายงานการศึกษาทางวิทยาศาสตร์พบว่า ขมิ้นชันมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ รวมไปถึงมีฤทธิ์ต้านฮิสตามีน ปัจจุบันในตำราสมุนไพรจากต่างประเทศ ก็ยอมรับขมิ้นเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่ง ที่มีประโยชน์ต่อคนที่เป็นโรคภูมิแพ้ และหอบหืด นอกจากสมุนไพรสองชนิดที่กล่าวมา ในแวดวงสมุนไพรยังมีการแนะนำให้ใช้ ชาเขียว ขิง ชะเอม น้ำมันปลา ในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสาระ และลดการอักเสบในคนที่เป็นโรคภูมิแพ้ แต่สมุนไพรทั้งสองชนิด คือหอมแดงและขมิ้นชัน สามารถพึ่งตนเองได้อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะขมิ้นแทบจะกล่าวได้ว่า การที่คนใต้ของเรานิยมใส่ขมิ้นลงไป ในอาหารในชีวิตประจำวันนั้น ก่อให้เกิดความชำนาญ ในการคัดเลือกสายพันธุ์ และความชำนาญในการเพาะปลูก ทำให้ขมิ้นชันที่ภาคใต้ให้สารสำคัญสูงมาก พบว่าขมิ้นชันเมืองไทยมีสาร curcumin และ curcumin oil สูงกว่าประเทศอื่นๆ
ประเทศไทยควรส่งเสริม ให้มีการควบคุมปริมาณสารสำคัญ ในผลิตภัณฑ์ขมิ้นในท้องตลาด เพื่อการพัฒนามาตรฐานสมุนไพรไทย คนกินขมิ้นชันจะได้ไม่ผิดหวัง
การใช้สมุนไพรในการรักษาโรคภูมิแพ้นั้น เป็นสิ่งที่ใกล้ตัวนิดเดียวตามที่ได้กล่าวมาแล้ว ทุกคนสามารถพึ่งตนเองได้ หัวหอมก็อยู่ในครัว ขมิ้นชันก็พอหาซื้อได้ไม่ยาก จะปลูกเองก็ไม่ยาก อายุประมาณ 1 ปี ก็สามารถเก็บมาใช้ได้ ถ้าเรามาช่วยกันสะสมประสบการณ์ การใช้สมุนไพรรักษาโรคภูมิแพ้ สักวัน เราจะเป็นแหล่งภูมิรู้ทางสมุนไพรที่มากมาย เหมือนกับที่คนใต้สะสมความรู้ ในการคัดเลือกพันธุ์ขมิ้นชันนั่นเอง
ครูกรรณิการ์...
วันพุธที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
วันศุกร์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2554
ปิดเทอมไปเที่ยวไหนดีคะ
วันจันทร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2553
"ศาลาเก๋งเรือพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5" ที่สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2541 ลักษณะเป็นทรงไทยชั้นเดียว ใช้เป็นสถานที่เก็บรักษาเก๋งเรือพระราชทาน เมื่อวันที่ 21 ก.ค. 2447 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย พร้อมด้วยเจ้าฟ้าหลายพระองค์ และสมเด็จข้าราชบริพารได้เสด็จทางชลมารคโดยเรือพระที่นั่ง ซึ่งเป็นเรือดมาด 4 แจว ขุดจากซุงไม้สักหรือตะเคียน พระองค์ได้จอดแวะพักและผูกเรือพระที่นั่ง ณ ต้นสะเดา เพื่อทำครัวเสวยพระกายาหารเช้า เก๋งเรือพระราชทานนี้ปัจจุบันทางวัดได้บูรณะซ่อมแซมจากของเดิมที่ชำรุดให้สมบูรณ์สวยงาม ตั้งอยู่ที่วัดประดู่ จังหวัดสมุทรสงคราม
วันเสาร์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2553
ตลาดน้ำคลองลัดพลี
ตลาดน้ำคลองลัดพลี ตั้งอยู่บริเวณคลองลัดพลี (คลองลัดราชบุรี) หน้าวัดราษฎร์เจริญธรรม อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี เป็นตลาดน้ำดั้งเดิม แต่ถูกย้ายไปบริเวณคลองต้นเข็มปัจจุบัน เนื่องจากมีการสร้างถนนมากขึ้น ทำให้การเดินทางเปลี่ยนแปลงไป ตลาดจึงไปอยู่ที่เส้นทางถนนตัดผ่าน ปัจจุบันบริเวณดังกล่าวเกิดความแออัด จึงมีการฟื้นฟูตลาดน้ำยามบ่ายเพิ่มขึ้นใหม่ โดยจะมีการค้าขายกันตั้งแต่ช่วงเวลา 12.00 น. - 17.00 น. ทุกวัน
วันอังคารที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2553
เศษส่วน
ในทางคณิตศาสตร์ เศษส่วน คือความสัมพันธ์ตามสัดส่วนระหว่างชิ้นส่วนของวัตถุหนึ่งเมื่อเทียบกับวัตถุทั้งหมด เศษส่วนประกอบด้วยตัวเศษ (numerator) หมายถึงจำนวนชิ้นส่วนของวัตถุที่มี และตัวส่วน (denominator) หมายถึงจำนวนชิ้นส่วนทั้งหมดของวัตถุนั้น ตัวอย่างเช่น 3⁄4 อ่านว่า เศษสามส่วนสี่ หรือ สามในสี่ หมายความว่า วัตถุสามชิ้นส่วนจากวัตถุทั้งหมดที่แบ่งออกเป็นสี่ส่วนเท่าๆ กัน นอกจากนั้น การแบ่งวัตถุสิ่งหนึ่งออกเป็นศูนย์ส่วนเท่า ๆ กันนั้นเป็นไปไม่ได้ ดังนั้น 0 จึงไม่สามารถเป็นตัวส่วนของเศษส่วนได้ (ดูเพิ่มที่ การหารด้วยศูนย์)
เศษส่วนเป็นตัวอย่างชนิดหนึ่งของอัตราส่วน ซึ่งเศษส่วนแสดงความสัมพันธ์ระหว่างชิ้นส่วนย่อยต่อชิ้นส่วนทั้งหมด ในขณะที่อัตราส่วนพิจารณาจากปริมาณของสองวัตถุที่แตกต่างกัน (ดังนั้น 3⁄4 อาจไม่เท่ากับ 3 : 4) และเศษส่วนนั้นอาจเรียกได้ว่าเป็นผลหาร (quotient) ของจำนวน ซึ่งปริมาณที่แท้จริงสามารถคำนวณได้จากการหารตัวเศษด้วยตัวส่วน ตัวอย่างเช่น 3⁄4 คือการหารสามด้วยสี่ ได้ปริมาณเท่ากับ 0.75 ในทศนิยม หรือ 75% ในอัตราร้อยละ
การเขียนเศษส่วน ให้เขียนแยกออกจากกันด้วยเครื่องหมายทับหรือ ซอลิดัส (solidus) แล้ววางตัวเศษกับตัวส่วนในแนวเฉียง เช่น 3⁄4 หรือคั่นด้วยเส้นแบ่งตามแนวนอนเรียกว่า วิงคิวลัม (vinculum) เช่น ในบางกรณีอาจพบเศษส่วนที่ไม่มีเครื่องหมายคั่น อาทิ 34 บนป้ายจราจรในบางประเทศ
เศษส่วนเป็นตัวอย่างชนิดหนึ่งของอัตราส่วน ซึ่งเศษส่วนแสดงความสัมพันธ์ระหว่างชิ้นส่วนย่อยต่อชิ้นส่วนทั้งหมด ในขณะที่อัตราส่วนพิจารณาจากปริมาณของสองวัตถุที่แตกต่างกัน (ดังนั้น 3⁄4 อาจไม่เท่ากับ 3 : 4) และเศษส่วนนั้นอาจเรียกได้ว่าเป็นผลหาร (quotient) ของจำนวน ซึ่งปริมาณที่แท้จริงสามารถคำนวณได้จากการหารตัวเศษด้วยตัวส่วน ตัวอย่างเช่น 3⁄4 คือการหารสามด้วยสี่ ได้ปริมาณเท่ากับ 0.75 ในทศนิยม หรือ 75% ในอัตราร้อยละ
การเขียนเศษส่วน ให้เขียนแยกออกจากกันด้วยเครื่องหมายทับหรือ ซอลิดัส (solidus) แล้ววางตัวเศษกับตัวส่วนในแนวเฉียง เช่น 3⁄4 หรือคั่นด้วยเส้นแบ่งตามแนวนอนเรียกว่า วิงคิวลัม (vinculum) เช่น ในบางกรณีอาจพบเศษส่วนที่ไม่มีเครื่องหมายคั่น อาทิ 34 บนป้ายจราจรในบางประเทศ
คณิต
คณิตศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่มุ่งค้นคว้าเกี่ยวกับ โครงสร้างนามธรรมที่ถูกกำหนดขึ้นผ่านทางกลุ่มของสัจพจน์ซึ่งมีการให้เหตุผลที่แน่นอนโดยใช้ตรรกศาสตร์สัญลักษณ์ และสัญกรณ์คณิตศาสตร์ เรามักนิยามโดยทั่วไปว่าคณิตศาสตร์เป็นสาขาวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบและโครงสร้าง, การเปลี่ยนแปลง, และปริภูมิ กล่าวคร่าวๆ ได้ว่าคณิตศาสตร์นั้นสนใจ "รูปร่างและจำนวน" เนื่องจากคณิตศาสตร์มิได้สร้างความรู้ผ่านกระบวนการทดลอง บางคนจึงไม่จัดว่าคณิตศาสตร์เป็นสาขาของวิทยาศาสตร์
คำว่า "คณิตศาสตร์" (คำอ่าน: คะ-นิด-ตะ-สาด) มาจากคำว่า คณิต (การนับ หรือ คำนวณ) และ ศาสตร์ (ความรู้ หรือ การศึกษา) ซึ่งรวมกันมีความหมายโดยทั่วไปว่า การศึกษาเกี่ยวกับการคำนวณ หรือ วิชาที่เกี่ยวกับการคำนวณ. คำนี้ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า mathematics มาจากคำภาษากรีก μάθημα (máthema) แปลว่า "วิทยาศาสตร์, ความรู้, และการเรียน" และคำว่า μαθηματικός (mathematikós) แปลว่า "รักที่จะเรียนรู้". ในอเมริกาเหนือนิยมย่อ mathematics ว่า math ส่วนประเทศอื่นๆ ที่ใช้ภาษาอังกฤษนิยมย่อว่า maths
ความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์เพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอ ผ่านทางการวิจัยและการประยุกต์ใช้ คณิตศาสตร์เป็นเครื่องมืออันหนึ่งของวิทยาศาสตร์ อย่างไรก็ตาม การคิดค้นทางคณิตศาสตร์ไม่จำเป็นต้องมีเป้าหมายอยู่ที่การนำไปใช้ทางวิทยาศาสตร์ (ดู คณิตศาสตร์บริสุทธิ์ และคณิตศาสตร์ประยุกต์)
โครงสร้างต่างๆ ที่นักคณิตศาสตร์สนใจและพิจารณานั้น มักจะมีต้นกำเนิดจากวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ และสังคมศาสตร์ โดยเฉพาะฟิสิกส์ และเศรษฐศาสตร์. ปัญหาทางคณิตศาสตร์ในปัจจุบัน ยังเกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้ในสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ และทฤษฎีการสื่อสาร อีกด้วย
เนื่องจากคณิตศาสตร์นั้นใช้ตรรกศาสตร์สัญลักษณ์และสัญกรณ์คณิตศาสตร์ ซึ่งทำให้กิจกรรมทุกอย่างกระทำผ่านทางขั้นตอนที่ชัดเจน เราจึงสามารถพิจารณาคณิตศาสตร์ว่า เป็นระบบภาษาที่เพิ่มความแม่นยำและชัดเจนให้กับภาษาธรรมชาติ ผ่านทางศัพท์และไวยากรณ์บางอย่าง สำหรับการอธิบายและศึกษาความสัมพันธ์ทั้งทางกายภาพและนามธรรม. ความหมายของคณิตศาสตร์นั้นยังมีอีกหลายมุมมอง ซึ่งหลายอันถูกกล่าวถึงในบทความเกี่ยวกับปรัชญาของคณิตศาสตร์
คณิตศาสตร์ยังถูกจัดว่าเป็นศาสตร์สัมบูรณ์ โดยจำไม่เป็นต้องมีการอ้างถึงใดๆ จากโลกภายนอก. นักคณิตศาสตร์กำหนดและพิจารณาโครงสร้างบางประเภท สำหรับใช้ในคณิตศาสตร์เองโดยเฉพาะ, เนื่องจากโครงสร้างเหล่านี้ อาจทำให้สามารถอธิบายสาขาย่อยๆ หลายๆ สาขาได้ในภาพรวม หรือเป็นประโยชน์ในการคำนวณพื้นฐาน
นอกจากนี้ นักคณิตศาสตร์หลายคนก็ทำงานเพื่อเป้าหมายเชิงสุนทรียภาพเท่านั้น โดยมองว่าคณิตศาสตร์เป็นศาสตร์เชิงศิลปะ มากกว่าที่จะเป็นศาสตร์เพื่อการนำไปประยุกต์ใช้ (ดังเช่น จี. เอช. ฮาร์ดี ที่ได้กล่าวไว้ในหนังสือ A Mathematician's Apology) ; แรงผลักดันในการทำงานเช่นนี้ มีลักษณะไม่ต่างไปจากที่กวีและนักปรัชญาได้ประสบ และเป็นสิ่งที่ไม่สามารถอธิบายได้. อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ กล่าวว่า คณิตศาสตร์เป็นราชินีของวิทยาศาสตร์ ในหนังสือ Ideas and Opinions ของเขา
องค์ความรู้ในคณิตศาสตร์รวมกันเป็นสาขาวิชา หลักการเบื้องต้นที่เริ่มจากเลขคณิตไปยังการประยุกต์ใช้งานพื้นฐานของสาขาคณิตศาสตร์ ที่รวมพีชคณิต เรขาคณิต ตรีโกณมิติ สถิติศาสตร์ และแคลคูลัส เป็นหลักสูตรแกนในการศึกษาขั้นพื้นฐาน แม้ว่าจะได้มีการพัฒนาและขยายขอบเขตไปอย่างมากมายในช่วงเวลาหลายร้อยปี สาขาวิชาคณิตศาสตร์ยังคงถูกจัดว่าเป็นสาขาวิชาเดี่ยว ที่มีลักษณะแตกต่างจากสาขาอื่นๆ
คำว่า "คณิตศาสตร์" (คำอ่าน: คะ-นิด-ตะ-สาด) มาจากคำว่า คณิต (การนับ หรือ คำนวณ) และ ศาสตร์ (ความรู้ หรือ การศึกษา) ซึ่งรวมกันมีความหมายโดยทั่วไปว่า การศึกษาเกี่ยวกับการคำนวณ หรือ วิชาที่เกี่ยวกับการคำนวณ. คำนี้ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า mathematics มาจากคำภาษากรีก μάθημα (máthema) แปลว่า "วิทยาศาสตร์, ความรู้, และการเรียน" และคำว่า μαθηματικός (mathematikós) แปลว่า "รักที่จะเรียนรู้". ในอเมริกาเหนือนิยมย่อ mathematics ว่า math ส่วนประเทศอื่นๆ ที่ใช้ภาษาอังกฤษนิยมย่อว่า maths
ความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์เพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอ ผ่านทางการวิจัยและการประยุกต์ใช้ คณิตศาสตร์เป็นเครื่องมืออันหนึ่งของวิทยาศาสตร์ อย่างไรก็ตาม การคิดค้นทางคณิตศาสตร์ไม่จำเป็นต้องมีเป้าหมายอยู่ที่การนำไปใช้ทางวิทยาศาสตร์ (ดู คณิตศาสตร์บริสุทธิ์ และคณิตศาสตร์ประยุกต์)
โครงสร้างต่างๆ ที่นักคณิตศาสตร์สนใจและพิจารณานั้น มักจะมีต้นกำเนิดจากวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ และสังคมศาสตร์ โดยเฉพาะฟิสิกส์ และเศรษฐศาสตร์. ปัญหาทางคณิตศาสตร์ในปัจจุบัน ยังเกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้ในสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ และทฤษฎีการสื่อสาร อีกด้วย
เนื่องจากคณิตศาสตร์นั้นใช้ตรรกศาสตร์สัญลักษณ์และสัญกรณ์คณิตศาสตร์ ซึ่งทำให้กิจกรรมทุกอย่างกระทำผ่านทางขั้นตอนที่ชัดเจน เราจึงสามารถพิจารณาคณิตศาสตร์ว่า เป็นระบบภาษาที่เพิ่มความแม่นยำและชัดเจนให้กับภาษาธรรมชาติ ผ่านทางศัพท์และไวยากรณ์บางอย่าง สำหรับการอธิบายและศึกษาความสัมพันธ์ทั้งทางกายภาพและนามธรรม. ความหมายของคณิตศาสตร์นั้นยังมีอีกหลายมุมมอง ซึ่งหลายอันถูกกล่าวถึงในบทความเกี่ยวกับปรัชญาของคณิตศาสตร์
คณิตศาสตร์ยังถูกจัดว่าเป็นศาสตร์สัมบูรณ์ โดยจำไม่เป็นต้องมีการอ้างถึงใดๆ จากโลกภายนอก. นักคณิตศาสตร์กำหนดและพิจารณาโครงสร้างบางประเภท สำหรับใช้ในคณิตศาสตร์เองโดยเฉพาะ, เนื่องจากโครงสร้างเหล่านี้ อาจทำให้สามารถอธิบายสาขาย่อยๆ หลายๆ สาขาได้ในภาพรวม หรือเป็นประโยชน์ในการคำนวณพื้นฐาน
นอกจากนี้ นักคณิตศาสตร์หลายคนก็ทำงานเพื่อเป้าหมายเชิงสุนทรียภาพเท่านั้น โดยมองว่าคณิตศาสตร์เป็นศาสตร์เชิงศิลปะ มากกว่าที่จะเป็นศาสตร์เพื่อการนำไปประยุกต์ใช้ (ดังเช่น จี. เอช. ฮาร์ดี ที่ได้กล่าวไว้ในหนังสือ A Mathematician's Apology) ; แรงผลักดันในการทำงานเช่นนี้ มีลักษณะไม่ต่างไปจากที่กวีและนักปรัชญาได้ประสบ และเป็นสิ่งที่ไม่สามารถอธิบายได้. อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ กล่าวว่า คณิตศาสตร์เป็นราชินีของวิทยาศาสตร์ ในหนังสือ Ideas and Opinions ของเขา
องค์ความรู้ในคณิตศาสตร์รวมกันเป็นสาขาวิชา หลักการเบื้องต้นที่เริ่มจากเลขคณิตไปยังการประยุกต์ใช้งานพื้นฐานของสาขาคณิตศาสตร์ ที่รวมพีชคณิต เรขาคณิต ตรีโกณมิติ สถิติศาสตร์ และแคลคูลัส เป็นหลักสูตรแกนในการศึกษาขั้นพื้นฐาน แม้ว่าจะได้มีการพัฒนาและขยายขอบเขตไปอย่างมากมายในช่วงเวลาหลายร้อยปี สาขาวิชาคณิตศาสตร์ยังคงถูกจัดว่าเป็นสาขาวิชาเดี่ยว ที่มีลักษณะแตกต่างจากสาขาอื่นๆ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)